เภสัชกรแนะนำ รู้เอาไว้ ยาอักเสบกับยาปฏิชีวนะไม่ใช่ยาตัวเดียวกัน

เภสัชกรแนะนำ รู้เอาไว้ ยาอักเสบกับยาปฏิชีวนะไม่ใช่ยาตัวเดียวกัน

เชื่อว่าคงมีคนจำนวนไม่ที่เกิดความคิดของตัวเองว่ายาอักเสบกับยาปฏิชีวนะเป็นยาตัวเดียวกัน และเมื่อป่วยก็มักจะไปหาซื้อยาจากร้านขายยามากินเอง ทั้งที่จริงแล้วเภสัชกรอยากแนะนำให้รู้เอาไว้เลยว่า “ยาอักเสบกับยาปฏิชีวนะไม่ใช่ยาตัวเดียวกัน” ทำให้ที่ผ่านมาหลายคนใช้ยาแบบผิด ๆ ความคิดนี้จึงต้องได้รับการทำความเข้าใจใหม่โดยเร็ว

เภสัชกรแนะนำความแตกต่างของยาอักเสบ VS ยาปฏิชีวนะ

เผื่อว่าใครยังไม่รู้ความหมายว่ายาปฏิชีวนะคืออะไร ยาปฏิชีวนะ คือ ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย หรือยาที่จะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัส และไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดไข้ แก้ปวด รวมถึงใช้รักษาเฉพาะโรคที่ได้เกิดมาจากเชื้อแบคทีเรีย ยกตัวอย่าง ทอนซิลอักเสบเป็นหนอง ซึ่งจะใช้ตัวยาปฏิชีวนะที่เป็นจำพวก

  • เพนนิซิลิน
  • เตตร้าซัยคลิน
  • อะม็อกซีซิลิน
  • เลโวฟล็อกซาซิน

ส่วนยาอักเสบคือ ยาต้านการอักเสบที่จะออกฤทธิ์ลดไข้ ลดการอักเสบ ลดอาการบวมแดง บรรเทาปวด ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยที่ส่วนใหญ่จะเกิดการอักเสบแบบที่ไม่ได้จากการติดเชื้อแบคทีเรียใด ๆ แต่จะมาจากสาเหตุอื่น ยกตัวอย่าง คออักเสบจากเชื้อไวรัส ผิวหนังอักเสบจากการที่ไปแพ้สารเคมี แพ้แสงแดด หรือการอักเสบที่มาจากกล้ามเนื้อจากการยกของหนัก ถ้าจะให้ยกตัวอย่างยาประเภทนี้ก็เช่น

  • แอสไพริน
  • ไดโคลฟิแนค
  • ไอบรูโพรเฟน
  • พอนสแตน
  • อาร์คอกเซีย
  • จาโปรลอค

เภสัชกรใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อย่อมทำให้เกิดอันตรายได้

  • เกิดเชื้อดื้อยาได้ เพราะการไปซื้อยาจากร้านยามากินแบบพร่ำเพรื่อจะไปกระตุ้นเชื้อแบคทีเรียให้กลายพันธุ์จนเกิดเป็นเชื้อดื้อยาขึ้น ต้องเปลี่ยนไปใช้ยาตัวใหม่ ทำให้แพงขึ้น แน่นอนว่าปัจจุบันก็เหลืออยู่ไม่กี่ชนิดแล้ว สุดท้ายหมดยารักษาและเสียชีวิตได้
  • เกิดการแพ้ยา ที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยาบางอย่างกับร่างกาย กรณีแพ้ไม่มากปรึกษาเภสัชกรแล้วบอกว่ามีแค่ผื่นแดง แต่ถ้ารุนแรงก็ขึ้นกลายเป็นผิวหนังมีรอยไหม้ หลุดลอก เผลอ ๆ เสียชีวิตได้
  • เกิดโรคแทรกซ้อนที่จะฆ่าทั้งเชื้อแบคทีเรีย และแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้เรา พอแบคทีเรียชนิดดีตายไป เชื้ออื่นมีโอกาสเติบโตมากขึ้น ทำให้เกิดการแทรกซ้อนโรคต่าง ๆ เช่น ลำไส้อักเสบที่ผนังลำไส้ถูกทำลายหลุดออกมากับอุจจาระ รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

เภสัชกรยังแนะนำต่ออีกว่าเมื่อเกิดความเจ็บป่วยขึ้นควรรีบไปปรึกษาเภสัชกรที่ร้านขายยาโดยเร็ว เพื่อได้รับการวินิจฉัยและจ่ายยาที่เหมาะสม แต่ถ้าเกิดมีอาการรุนแรง แนะนำว่าให้คุณเดินทางไปยังโรงพยาบาลใกล้บ้านปลอดภัยที่สุด

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Shopping Cart